สารคดี เจาะลึกดาราจักรทางช้างเผือก

เจาะลึกดาราจักรทางช้างเผือก

ทางช้างเผือกกำเนิดขึ้นมาได้อย่างไร? คงอยู่มานานได้อย่างไร? และจะดับสลายลงในลักษณะไหน? ทางช้างเผือก Milky Way) คือดาราจักรที่เป็นที่ตั้งของระบบสุริยะและโลกของเรา ชื่อภาษาอังกฤษของทางช้างเผือก (Milky Way) มาจากคำภาษากรีกว่า γαλαξίας κύκλος (กาลาซิอัส คูคลอส, “วงกลมสีน้ำนม“) โดยเมื่อมองบนท้องฟ้าจะปรากฏเป็นแถบขมุกขมัวคล้ายเมฆของแสงสว่างสีขาว ซึ่งเกิดจากดาวฤกษ์จำนวนมากภายในดาราจักรที่มีรูปร่างเป็นแผ่นจาน แต่เดิมนั้นนักดาราศาสตร์คิดว่าดาราจักรทางช้างเผือกมีลักษณะเป็นดาราจักรชนิดก้นหอยธรรมดา แต่หลังจากผ่านการประเมินครั้งใหม่ในปี พ.ศ. 2548 พบว่าทางช้างเผือกน่าจะเป็นดาราจักรชนิดก้นหอยมีคานเสียมากกว่า. เส้นผ่าศูนย์กลางของดาราจักรทางช้างเผือกมีระยะทางระหว่าง 150,000 ถึง 200,000 ปีแสง และมีจำนวนดาวฤกษ์ประมาณ 1 แสนล้าน ถึง 4 แสนล้านดวง ส่วนที่สว่างที่สุดของทางช้างเผือกอยู่บริเวณกลุ่มดาวคนยิงธนู ซึ่งเป็นทิศทางไปสู่ใจกลางดาราจักร ณ จุดศุนย์กลางของดาราจักรทางช้างเผือกเป็นแหล่งคลื่นวิทยุที่มีความเข้มข้นสูง เรียกว่า ซากิตทาเรียส A โดยจุดที่สัญญาณเข้มข้นที่สุดเรียกว่า ซากิตทาเรียส A* ซึ่งคาดว่าจะเป็นหลุมดำมวลยิ่งยวด ที่มีขนาดมวลราว 4.100 (± 0.034) ล้านเท่าของมวลสุริยะ

สารคดี เจาะลึกดาราจักรทางช้างเผือก

 
 
รวมเรื่องราว “กาแล็กซีทางช้างเผือก”


 

Copy link
Powered by Social Snap