ปี 2019 ยาน New Horizons เผชิญหน้า Ultima Thule ดินแดนที่ห่างไกล

การสำรวจอวกาศไม่มีที่สิ้นสุด ยิ่งใช้ระยะเวลานานเท่าไร ยิ่งค้นพบดวงดาวที่อยู่ห่างไกลมากเท่านั้น นิว ฮอไรซันส์ (New Horizons) เป็นยานสำรวจอวกาศระหว่างดาวเคราะห์ที่ถูกปล่อยออกจากโลกเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2006(2549) ยานถูกสร้างโดยห้องฟิสิกส์ประยุกต์และสถาบันวิจัยเซาท์เวสต์ ยานมีภารกิจเพื่อศึกษาดาวพลูโต(Pluto)และแถบไคเปอร์(Kuiper belt) และทุกวันนี้ยาน นิว ฮอไรซันส์ (New Horizons)ได้ออกเดินทางมากว่า 12 ปี แล้ว และสร้างประวัติศาสตร์ให้ชาวโลกได้ยลโฉมดาวพลูโตอย่างใกล้ชิด ทำให้เรารู้ว่า มหาสมุทธที่เต็มไปด้วยแอมโมเนียNH3(ammonia) ข้นเหมือนนํ้าเชื่อมและเค็มจัด อาจเป็นการก่อตัวขึ้นของดาวหางประมาณ พันล้านล้านดวง ซึ่งมีองค์ประกอบคล้ายคลึงกับดาวหาง
และในวันที่ 1 ม.ค 2019 นี้ ยานสำรวจอวกาศ นิว ฮอไรซันส์(New Horizons) ได้สร้างประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ในการเผชิญหน้าอย่างใกล้ชิดกับวัตถุที่มีชื่อว่า อัลติมา ธูลี (Ultima Thule) ดาวเคราะห์น้อยหน้าตาประหลาดลึกลับที่ถูกปกคลุมด้วยนํ้าแข็งในแถบไคเปอร์(Kuiper belt) ภูมิภาคที่ถูกเรียกว่า โซนที่ 3 ของระบบสุริยะ ถัดจากดาวเคราะ์หินชั้นในและดาวเคราะห์ก๊าซยักษ์ชั้นนอก อัลติมา ธูลี (Ultima Thule) เคยเป็นอะไรที่เราไม่รู้จักมาก่อน ล่องลอยอยู่ห่างไกลจากสายตาของพวกเรา จนมาถึงวันที่ 16 มิถุนายน 2014 เมื่อนักดาราศาสตร์ส่องกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล(Hubble Space Telescope) มองเห็นมันเป็นครั้งแรก จากนั้นเป็นต้นมา มันก้ได้รับความสนใจเพิ่มขึ้น เมื่อมันได้รับเลือกเป็นเป้าหมายต่อไป ที่ยานนิว ฮอไรซันส์(New Horizons) จะเดินทางไปสำรวจหลังจากไปเยี่ยมชมดาวพลูโตในเดือนสิงหาคม 2015 ดาวเคราะห์น้อยรูปทรงประหลาดที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 30 กิโลเมตร อัลติมา ธูลี(Ultima Thule) มาจากชื่อ เกาะแห่งหนึ่งอันห่างไกลเหนือสุดโลกที่อยู่ในวรรณคดียุคกลาง
ยานอวกาศของเราเดินทางไปไกลเกินกว่าขอบเขตที่เราเคยรู้จัก ที่ตรงนั้นมีเป้าหมายของเรารออยู่ นี้เป็นคำพูดส่วนหนึ่งของ Alan stern หัวหน้าทีมภารกิจนิว ฮอไรซันส์ (New Horizons)

ปี 2019 ยาน New Horizons เผชิญหน้า Ultima Thule ดินแดนที่ห่างไกล

ความคิดเห็น เกี่ยวกับ เรื่อง ปี 2019 ยาน New Horizons เผชิญหน้า Ultima Thule ดินแดนที่ห่างไกล
เอาจริง นาซ่าสร้างวัตถุสื่อสารที่สามารถเดินทางได้ไกลขนาดนั้นและส่งข่าวกลับมายังโลกได้จริงหรือ ระยะทางมันไกลมากเลยนะ หรือสร้างเรื่องมาหลอกหากินกับชาวโลกไปเรื่อยๆ คิดว่าอีกหน่อยก็จะเดินทางได้ไกลออกไปเรื่อยๆ แต่ก็ยังไม่พบสิ่งมีชีวิตนอกโลกเช่นเดิม คล้ายๆเขียนนิยายที่ไม่มีตอนจบ ผมเชื่ออย่างงั้น
-ทำได้สิครับ มันใช้พลังงานแสงอาทิตย์เป็นเชื่อเพลิง ยานสำรวจถูกสร้างมามันก็มีเทคนิคทางวิศวกรรม กลไก และเทคโนโลยีที่ดีอยู่แล้ว แต่ New Horizons จะออกไปจากระบบของเราได้ไม่ไกลมากมันก็จะหมดอายุการใช้งาน อันนี้เคยมีคนบอกเอาไว้


 

มีการส่งยานไปในทิศทางแนวดิ่งไหมครับ คือที่ดูๆมามีแต่ส่งยานไปในทิศทางแนวระนาบ แอดพอจะเข้าใจไหมครับ ไม่รู่จะอธิบายยังไง
-เปรียบเทียบกับแกน X Y คือเราส่งไปแต่ในทาง x อย่างเดียวเลยหรอครับ แล้วทาง y ไม่มีอะไรที่น่าค้นหาเลยหรอครับ
– มันมีเรื่องน่าแปลกคือ ดาวมันโคจรเป็นระนาบแบบจาน ทั้งโซล่า ซิสเตม รวมทั้ง กาแลคซี่มันเป็นรูปจาน เคยเห็นนักวิทย์ก็ยังไม่เข้าใจนัก ทำไมต้องโคจรรูปจาน
-ไม่ต่างครับ ถึงไป มันเป็นแนวดิ่ง แต่อวกาศไม่มีแรงโน้มถ่วง ก็เหมือนเราไปทางแนว x แหละครับ
-นั่นสิครับน่าคิดส่งไปแนวดิ่งมันจะไปโผล่ไหน อาจจะไปเจอรูหนอนอยู่ข้างใต้รึข้างบนระบบสุริยะเราก็ได้ใครจะรู้
-มันไม่มีเป้าหมาย ถ้าไปในแนวดิ่ง กว่าจะไปถึงดาวที่ไกล้ที่สุด อาจใช้เวลาหลายหมื่นปี เขาคงขี้เกียจรอครับ
-เค้าคงใช้กล้องอวกาศ หาหมดแล้วแหละครับผม ใต้โลกหรือข้างบน คงไม่มีอะไรคงเจอดาวที่อยู่ไหลมากไม่ก็กาแล๊คซี่อื่นๆ แต่ก็น่าลองเผื่อจะมองไม่เห็นรูหนอนเหมือนที่บอกก็ได้
-ทะลุไปอีก จักรวาล จะเจอโลกอีกใบ การเวลาสร้าง ขึนมาจากการเพิมขึนของจักวาณ ทับถมไปเรือยๆไมมีวันจบ
-ทุกๆ กาแล็กซี่มีลักษณะแบบนี้
-ทุกทิศทางก็จะมีกาแล็คซี่อื่น ๆ ที่ไกลออกไป
– สำรวจกาแล็กซี่ของเราเองยังใช้เวลานานมาก ๆ คงต้องรอให้เทคโนโลยีก้าวหน้ามาก มาก ๆๆๆๆๆ ก่อน ถึงจะสำรวจได้ไกลออกไปอีก

ยานสำรวจ ใช้พลังงานอะไร ในการขับเคลื่อนครับ ระยะทางไกลขนาดนั้น น้ำมันคงต้องตัดออก
-ไม่ต้องใช้ครับ อวกาศไม่มีแรงเสียดทาน เคยเร็วอย่างไง ก็จะเร็วอย่างนั้นตลอดไป
-นิวเคลียร์ ครับ
-เตาปฏิกร พลูโตเนี่ยมครับ 2กรัม ของ Pu ปลดปล่อยพลังงาน 1 วัตต์ ส่วนการเร่งความเร็ว ใช้แรงโน้มถ่วงของดาวเคราะห์เหวี่ยงมันไป
-เห็นมีคนบอกว่าเร็วกว่ากระสุนปืนใช่ไมอะ
-มันเร็วกว่าอยู่แล้วครับ 1 วิ เดินทางได้ 17กิโลเมตร คิดว่าไวไหมครับ แต่มันช้า ในอวกาศ เพราะมันอวกาศมันกว้าง

ผมว่าอีกไม่นานได้เจอมนุษย์ต่างดาวแน่

ออกไปสำรวจด้วยตัวเองสิจึงจะรู้ว่าอะไรจริง ไม่จริง มนุษย์โลกทำได้เพียงแค่เฝ้ามอง แค่นี้เหรอ วิทยาศาสตร์ ก็ก้าวหน้ามาถึงขนาดนี้แล้ว ยีงไม่เห็นมีเอามนุษย์ออกไปสำรวจดาวสักที มัวแต่มาทะเลาะ กันเหมือนเด็กอยู่ได้ ทุกประเทศควรแข่งขันทางด้านวิทยาศาสตร์​มากกว่าจะมาทะเลาะกัน นะผมว่า
-เทคโนโลยีน่าจะยังไม่พร้อมหรือเขาวิจัยยังไม่เสรด การส่งหุ่นยนต์ไปเยือนก่อนเป็นความคิดที่ดีกว่า ตอนนี้ผมว่าเรื่องที่สำคัญกว่าคือการหาเทคโนโลยีวัสดุมาเเทนพลาสติกหรือวิจัยพลาสติกย่อยสลายเองได้ เเละตอนนี้อาหารในโลกเริ่มไม่พอต่อการเจริญเติบโตของประชากรโลก
-ยานใช่ว่าจะสร้างกันง่ายๆ องค์กรเข้าวิจัยแล้วทดลองอีกๆๆๆ เพื่อให้ได้ผล กาแล็คซี่อื่น มันไม่ได้ใกล้เหมือนกรุงเทพนะเฟ้ย
-ต้องส่งยานไปสำรวจก่อนไง ถ้าส่งคนไปพร้อมยานแล้วยานเกิดขัดข้อง ผิดพลาดหรือเจอปัญหาอะไรต่างๆ คุณคิดว่าในอวกาศมันมีอู่ซ่อมยานหรอครับ การไปสำรวจนอกจะจากจะพลาดไม่ได้แล้วถ้าพลาดก็ต้องน้อยที่สุด ห้ามมีคำว่าล้มเหลว ไม่งั้นคือขาดทุนทุกอย่าง
-มันใช้เวลานานในการจะสำรวจนะผมว่า ในจะอาหาร ออกซิเจน เวลาใช้เป็นปีๆเลยกว่าจะถึง แต่ถ้าดวงจันทร์ถึงจะใกล้สุดที่เคยมีมาแต่ก็ไม่ใช่วันสองวันจะถึง
-แค่ส่งคนไปดวงจันทร์ยังมีปัญหา​ และมีคนไม่เชื่อตั้งเยอะเเยะเลยครับ​ การสังเกตุด้วยวิทยาการวิทยาศาสตร์ที่เค้าทำอยู่เนี่ยเเหละที่เรียกว่าเเข่งขันด้านวิทยาศาสตร์​แล้ว​

ไม่ใช่ยาน​ วอยเอจเจอร์1กับ2เหรอครับที่เดินทางได้ไกลที่สุด​ รวมระยะการเดิน​ทางก้อ40ปีแล้วนะ​ได้เดินทางหลุดออกจากระบบสุริยะ​ไปแล้วนิ แล้วตอนนี้ก้อยังคงติดต่อกับนาซ่ายุนะครับ

ก้าวสั้นๆของมวลมนุษยชาติ..แค่แถบไคเปอร์ถือว่าใกล้มาก ถ้าเทียบกับ โซล่าซิสเต็มอื่น..ซึ่งอาจมีดาวเคราะห์ที่คล้ายโลกเรา

ใครจะคิดว่ามนุษย์ตัวเล็กๆ เเห่งดาวโลก จะเดินทางไปนอกอวกาศอันกว้างใหญ่ไพศาลได้ เเละมนุษย์โลกก็จะไม่หยุดเพียงเเค่นี้ ยังคงเดินหน้าค้นหาคำตอบของคำถามที่มนุษย์สงสัย
เเละวันนั้นคงมาถึงในสิ่งที่มนุษย์อยากรู้คำตอบ อาจจะร้อยปีพันปีข้างหน้า
ตราบใดที่เผ่าพันธุ์มนุษย์ยังดำรงอยู่เเละมีเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำเดินทางได้เร็วกว่าเเสง ทุกคำถามอาจจะมีคำตอบให้มนุษย์หายสงสัยอย่างเเน่นอน

ขอถาม1เรื่อง ยานวอยเรนเจอร์ ทีเดินไปเรื่อยๆไปพร้อมเคริ่องบันทึกเสียง ถ้ามันไปเจอ สิ่งกีดขว้างทางข้างหน้า มันจะหักหลบเองเป็นหลอครับ สงสัยนานละพี่???
-ถ้าเจอจริงๆมันก็ชน แต่มีโอกาศชนน้อยมากๆ เพราะอวกาศมันกว้างใหญ่ ระยะห่างระหว่างดาวเคาห์น้อย แต่ละดวงที่เห็นเหมือนเศษฝุ่น ห่างกันเป็นล้านกิโลเมตร

Copy link
Powered by Social Snap